YENGO

โรคปวดข้อ เข้าเสื่อม กระดูกทับเส้น

Last updated: 3 พ.ย. 2560  |  2913 จำนวนผู้เข้าชม  | 

     อาการปวดข้อ เป็นอาการที่เกิดจากโรค หรือภาวะผิดปกติของข้อ เช่น ข้อแพลงจากอุบัติเหตุ เข่าเสื่อมตามอายุ หรือ การติดเชื้อบางชนิด อาการสามารถปวดได้หลายๆข้อ ขึ้นกับสาเหตุและปัจจัย พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ และอาการปวดอาจพบร่วมกับอาการกล้ามเนื้ออักเสบรอบๆ ข้อได้ ซึ่งมักจะทำให้ผู้มีอาการมีความไม่สุขสบายและทรมานจากการปวด ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้

สาเหตุของอาการปวดข้อ

  1. อุบัติเหตุ จะมีอาการเฉพาะตำแหน่งที่เกิด เช่น หกล้ม อุบัติเหตุจากยานพาหนะ
  2. การเสื่อมของข้อตามอายุ  เช่น เข่าเสื่อม  ข่อต่อเสื่อมในผู้สูงอายุ พบได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อม และปวดหลังจากกระดูกสันหลังเสื่อม
  3. การใช้ข้อต่ออย่างหนักทำให้ข้ออักเสบ เช่น คนที่ทำงานพิมพ์ดีดและใช้คอมพิวเตอร์จะปวดข้อมือ ปวดหลัง คนเย็บปักถักร้อยจะปวดข้อมือและข้อนิ้ว เป็นต้น
  4. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ เส้นเอ็นอักเสบ จากการเล่นกีฬาที่ใช้ข้อต่อมากๆ เช่น กีฬาเทนนิส (โรคของข้อศอกจากเล่นเทนนิส(Tennis elbow)) ฟุตบอล (โรคของข้อเท้าจากการเล่นฟุตบอล(Footballer's Ankle))
  5. การอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นมี แผลจากผิวหนัง ลามเข้าข้อต่อ
  6. โรคติดเชื้ออื่นๆที่ทำให้ปวดข้อ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่  โรคหนองใน
  7. โรคทางกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งกระดูก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคข้อรูมาตอยด์  โรคเกาต์ เป็นต้น


 

ปวดข้อจากเข่าเสื่อม กระดูกทับเส้น
       โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมลงอย่างช้าๆ พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการเสื่อมตามวัย ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่าเวลาเดิน รวมไปถึงเข่าผิดรูปได้
      กระดูกทับเส้น หรือ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ การที่หมอนรองกระดูกสันหลังโป่งหรือปลิ้นออกมาจากแนวกระดูก ไปเบียดทับเส้นประสาทรอบๆกระดูก หรือเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้มีของเหลวในกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้งานของกระดูก และข้ออย่างหนักจนทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเสื่อมของกระดูกจากการทำงานหนัก เช่น ยกของหนัก ก้มหลังนานๆ ซึ่งอาการจะมีมากขึ้นเวลาทำงานหนัก หรือ ก้มๆ เงยๆ เมื่อนอนพักจะอาการดีขึ้น

จะดูแลตนเองอย่างไรเมื่อปวดข้อ
       เมื่อปวดข้อ นอกจากจะต้องสังเกตอาการของตนเองและสามารถบรรเทาอาการง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อ หรือ ใช้สมุนไพรบรรเทาอาการปวด การกายภาพบำบัด รวมไปถึงการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและสาเหตุ เพื่อทำการรักษาในกรณีที่อาการปวดเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ หรือ เป็นโรคทางกระดูกแล้ว เรามีวิธีการบรรเทาอาการปวดข้อจากสาเหตุต่างๆ ได้ดังนี้ค่ะ

  1. พักการใช้ข้อที่เจ็บ หากเกิดอาการปวดจากอุบัติเหตุต้องประคบข้อที่เจ็บด้วยความเย็นภายใน 24 ชม.เพื่อลดอาการบวมและเลือดคั่ง
  2. ถ้าเป็นอาการเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจาก ลักษณะงาน การประกอบอาชีพ สามารถบรรเทาอาการปวดได้หลายวิธี เช่น
    • นวดเบาๆ บริเวณที่ปวดข้อ อย่างสม่ำเสมอ
    • ประคบอุ่น/ประคบร้อน (อาจใช้สมุนไพรเพิ่มการไหลเวียนของเลือด) วันละประมาณ 2-3 ครั้งๆ ละ 10 นาทีขึ้นไป เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงที่ข้อ
  3. ใช้ยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์แนะนำ ร่วมกับ การกายภาพบำบัดตามอาการและตำแหน่งที่พบ

อาการผิดปกติของโรคปวดข้อที่ต้องพบแพทย์
        สำหรับท่านที่มีปัญหาโรคปวดข้อเรื้อรัง และมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับโรคข้ออยู่แล้ว สามารถไปพบแพทย์ก่อนนัดได้ หากมีอาการผิดปกติดังนี้

  • มีอาการปวด และข้อบวมมากยิ่งขึ้น
  • มีอาการปวดข้อ ข้อบวมแดง และร้อน
  • มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย


 
Relax Cream สมุนไพรบรรเทาอาการปวดข้อ เข่าเสื่อม กระดูกทับเส้น
       การรักษาอาการปวดมีหลายหลายวิธี เริ่มจากการไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและอาการ การใช้ยา และการผ่าตัด ตลอดจนการรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการ
       ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดในปัจจุบัน เป็นที่นิยมมากกว่า การรับประทานยาแก้ปวด เนื่องจากมีอันตรายและผลข้างเคียงน้อยกว่า เช่น ยาแก้ปวดบางกลุ่ม (NSAID) เมื่อรับประทานขณะท้องว่างหรือรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ รวมทั้งการรับประทานยาบ่อยๆอาจมีผลต่อตับและไตได้
       การใช้รีแลกซ์ครีม (Relax Cream) เพื่อบรรเทาอาการปวด จึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการบำบัดและบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะเป็นผลดีสำหรับคนที่รับประทานยาแก้ปวดไม่ได้ เช่น โรคปวดข้อจากเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ อาการปวดข้อจากการใช้งานข้ออย่างหนักในการเล่นกีฬา การทำงานหรือประกอบอาชีพใช้แรงงานที่ต้องลงน้ำหนักข้อ 
       รีแล็กซ์ครีม (Relax Cream) ครีมนวดนาโนเทคโนโลยีจากขมิ้นชัน มีคุณสมบัติช่วย บรรเทาอาการเจ็บ ปวด ลดการอักเสบของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้ออักเสบ นอกจากจะเป็นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ แล้วยังสามารถต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการสร้างและต้านการออกฤทธิ์ของสารก่อการอักเสบ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดบวม และอักเสบของโรคข้อ เข่าเสื่อม และกระดูกทับเส้น ได้อย่างดี  เป็นสมุนไพรไทยที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยรางวัลเหรียญทองโลก และมีความปลอดภัยได้รับการรับรองจาก อย.สามารถใช้บรรเทาอาการปวดได้อย่างดีจนไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด และที่สำคัญเราควรป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการปวดข้อดังนี้คะ
 
การป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
       ท่านที่มีปัญหาปวดข้อ หรือ กล้ามเนื้ออักเสบจากการทำงาน สามารถพักการใช้งานข้อและนวดบรรเทาอาการได้ และพยายามบริหารและยืดเหยียดข้อต่อต่างๆให้แข็งแรงอยู่เสมอ ยกเว้นท่านที่ปวดข้อจากเข่าเสื่อมตามวัย ถึงแม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่สามารถบรรเทาอาการได้หลายวิธี เช่น การใช้ยานวด การประคบสมุนไพร ส่วนอาการปวดจากกระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้นจะต้องได้รับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดต่างๆนี้ สามารถมีวิธีป้องกันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ ดังนี้ค่ะ
  1. บรรเทาอาการปวดด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถ ในการใช้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ให้ถูก
    วิธี เช่น การนั่งทำงานหลังตรง คนที่ใช้ข้อมือบ่อยๆ ควรมีการพักการใช้งานทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อและผ่อนหลายอิริยาบถ
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน เพื่อลดและป้องกันข้อเข่าเสื่อม และบรรเทาอาการปวดจากแรงกดข้อต่อต่างๆจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น
    • อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบสีเขียว ปลาตัวเล็กๆที่ทานได้ทั้งกระดูก นม
    • อาหารวิตามินสูง เช่น ผักและผลไม้สีสันทุกชนิด เช่น แครอท มะเขือเทศ  กะหล่ำปลีสีม่วง ข้าวโพด ฟักทอง
    • ทานปลาทะเลน้ำลึกอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3  ครั้ง เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลม่อนเพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูงช่วยบำรุงกระดูกและข้อ ลดการปวดและอักเสบจากโรคข้อได้
  4. ระมัดระวังอุบัติเหตุหรือ กิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อต่ออย่างหนัก เช่น การยกของหนัก กิจกรรมที่เสี่ยงต่อการกระแทกหรืออุบัติเหตุต่อข้อต่อ ต้องมีเครื่องป้องกันเป็นต้น


 

         การใส่ใจ และดูแลข้อเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อมีอาการปวดบวมที่ข้อ ควรพิจารณาถึงสาเหตุ และทำการรักษาที่ต้นเหตุ การรับประทานยาเมื่อมีอาการปวดทันทีไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด และควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะยาทุกชนิดล้วนมีผลต่อร่างกาย และเมื่อมีอาการผิดปกติของข้อควรปรึกษาแพทย์ สำคัญที่สุด คือ การใช้งานข้ออย่างถนอม หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายข้อ เช่น นั่งผิดท่า นั่งยองๆ วิ่งขึ้นบันได ใช้ข้ออย่างถนอมเพื่อรักษาข้อไว้ให้อยู่กับเรานานๆ ต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้